ขำขันร้านหมอ(วิด).....ยา เรื่องที่ 1 #ยาหอม#
ผู้เขียน เภสัชกรวิทยา จันทร์ศิริโพธา
คุณตาวัยอายุสัก 70 ปีเดินเข้ามาในร้านด้วยสีหน้าอ่อนล้าอิดโรย พร้อมถอนหายใจ
คนไข้:”เฮ้อ!... หมอขอซื้อ”ยาหอย”ตรา"ห้าเจดีย์” ให้ตาหน่อยวันนี้เป็นงัยก็ไม่รู้ รู้สึกจุกเสียดแน่นท้อง อ่อนเพลียละเหี่ยใจ เวียนหัว จะเป็นลม”
หมอ:”คุณลุงมีโรคประจำตัวเช่นความดัน เบาหวานมั้ยครับ”
คนไข้:”เดือนก่อนไปตรวจร่างกายมา ไม่มีครับ หมอบอกสุขภาพแข็งแรงดี ขอยาหอยให้ลุงหน่อย”
หมอ:”คุณลุงนั่งพักสักครู่ เดี๋ยวความดัน ให้ก่อนครับ”
คนไข้:”ครับ”
หมอ:”วัดได้ 118-80 ปกติครับ”
คนไข้:”ขอบคุณครับ”
หมอ:”คุณลุงเอาหอยเล็กหรือหอยใหญ่ครับ”
คนไข้:”เอาหอยใหญ่แล้วกัน หอมชื่นใจดี”
หมอ:”เอาหอยฝาเดียวหรือหอยสองฝาครับ”
คนไข้:”เอาหอยฝาเดียวที่มีฝาเกลียวเปิด เอา 3 ขวดครับ”
หมอ:” 75 บาทครับ”
คนไข้:”หมอ ผมอายุ 76 แก่มั้ย”
หมอ:” ไม่แก่ครับ ดูแล้วลุงคงอายุยืนสัก 100 ปีครับ”
ถ้าเล่าเรื่องนี้ให้ ดร.ต่ายลูกสาวนายห้าง 5 เจดีย์ฟัง แล้วให้ผลิตยาตัวนี้ขายคงขายดี ดังระเบิด..ฮ่าฮ่าฮ่า......
----------ฟังต่อ-----------
เด็กน้อยวัยสัก 10 ขวด จอดจักรยานหน้าร้านผลักประตูเข้ามา
เด็กน้อย:”หมอครับ ซื้อยาหอมตราม้าขวดใหญ่ ขวดนึงครับ”
หมอ:”นี่งัย ได้เลย”
เด็กน้อยรับของชำระเงิน แล้วปั่นจักรยานกลับบ้าน สักพักย้อนกลับมาใหม่
เด็กน้อย:”หมอ สั่งผิดครับ ตาให้เอายามาคืน โดนด่าใหญ่เลย”
เด็กน้อย:”ตาสั่งยาหอมตราฤาษีทรงม้าครับ ตอนแรกปั่นจักยานมาเจอหลุม ตกหลุมล้มลง ฤาษีเสียหลักเลยตกจากหลังม้า ผมเลยงงลืมไป เลยสั่งยาหอมตราม้าครับ ”
หมอ:”เอ้านี่เลยยาหอมตราฤาษีทรงม้า แล้วปั่นระวังหน่อยล่ะ อย่าให้ล้มอีก เด๋วขี่ตกหลุมอีก อีตาฤาษีตกม้าอีกทีจะยุ่ง ต้องมาซื้อยาแก้ปวดให้อีตาฤาษีอีกรอบ แต่รอบนี้อีตาฤาษีคงระวังตัว ม้าอาจขาหัก คงได้ยาหอมตราฤาษี เดินกลับบ้านไปเป็นเพื่อน”
เด็กน้อย:”ครับ”
ปัจจุบันมียาหอมมากกว่า 500 ตำรับ ซึ่งแต่ละตำรับประกอบไปด้วยสมุนไพรมากมายหลายสิบชนิด อาทิ
ขิง ดีปลี สะค้าน ช้าพลู เจตมูลเพลิงแดง แห้วหมู เทียน กระวาน กานพลู จันทร์ เปราะ เกสรบัวหลวง ฯลฯ
โดยสันนิษฐานกันว่าที่มาของชื่อยาหอมนี้น่าจะมาจากกลิ่นของสมุนไพรในตำรับยา เช่น จันทน์เทศ จันทน์แดง
จันทร์ขาว ดอกพิกุล บุนนาค สารภี ใบพิมเสน เกสรบัวน้ำ เปราะหอม เป็นต้น
สรรพคุณ ยาหอมช่วยแก้อาการปวดมึนศีรษะ เป็นลม วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น
แก้อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะข้างเดียว ความดันโลหิตต่ำ รวมทั้ง
บำรุงประสาทและบำรุงหัวใจอีกด้วย
ข้อมูลศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์จากการเปรียบเทียบตำรับยาหอม 3 ตำรับและยาหอมของภาคเอกชน 1 ตำรับ สาธารณสุข 2 ตำรับแรก คือยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทรจักร เป็นยาในชื่อบัญชียาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ของกระทรวงสาธารณสุข มีสมุนไพรเป็นส่วนประกอบกว่า 50 ชนิด ซึ่งยาหอมทั้ง 3 ตำรับนี้จะมีสมุนไพรที่ทับซ้อนกันอยู่ประมาณ 40 ชนิด วิธีการวิจัยก็คือ เตรียมสารสกัดของ สมุนไพรแต่ละตัวออกมาก่อน ซึ่งการสกัดที่ดีจะได้สารที่ออกฤทธิ์ที่เข้มข้น สามารถกำจัดเชื้อโรคที่ปนเปื้อน และสามารถนำไปทดสอบกับสัตว์ทดลองได้ จากนั้นจึงนำไปทดสอบสรรพคุณทางเภสัชวิทยา“ โดยผลจากการวิจัย ครั้งนี้พบว่าสารสกัดยาหอมทั้ง 3 ตำรับนี้มีฤทธิ์ต่อระบบต่างๆ ในร่างกายเรา คือ
-ยาหอมมีฤทธิต่อหัวใจ คือสามารถเพิ่มความแรงการบีบตัวของหัวใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดยาหอมอินทร-
จักร
-มีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิต โดยเฉพาะในขนาด 4 กรัมผงยาหอม/กิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มความดันเลือด systolic,
diastolic และความดันเลือดเฉลี่ย โดยมีผลต่อความดันเลือด systolic มากกว่า ความดันเลือด diastolic และ
ความดันเลือดเฉลี่ย
-มีฤทธิ์ต่ออัตราการไหลเวียนในหลอดเลือดสมอง พบว่า หลอดเลือดเล็กที่ไปเลี้ยงสมองขยายตัว และปริมาณ
เลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น
-มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง หรือส่งผลต่อการนอนหลับ ได้ โดยสารสกัดยาหอมของเอกชนและ
อินทจักรมีฤทธิ์กดต่อระบบประสาทส่วนกลางเมื่อให้สัตว์ทดลองได้รับเฉพาะแต่สารสกัด แต่ถ้าให้สารสกัดยาหอม
ทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกับ pentobarbital ซึ่งเป็นยานอนหลับ จะพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดทำให้ระยะเวลาการออกฤทธิ์
ของยานอนหลับยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะสารสกัดยาหอมนวโกฐมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง
มากกว่า 2 ชนิดแรก
-ฤทธิ์ต่อระบบทางเดินอาหาร สารสกัดยาหอมนวโกฐจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร ซึ่งพบว่า
ยาหอมนวโกฐมีผลยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กได้มากกว่าอีก 2 ตำรับ
-ฤทธิ์แก้อาการคลื่นไส้/อาเจียน สารสกัดยาหอมอินทรจักรสามารถต้านการอาเจียนได้
จากผลการวิจัยนี้จะเห็นว่ายาหอมแต่ละตำรับ แม้จะให้ผลโดยรวมคล้ายกัน แต่มีน้ำหนักในสรรพคุณต่างๆ ที่
ต่างกัน ซึ่งเราสามารถเลือกใช้ได้ เช่น ยาหอมนวโกฐทำให้หลับสบาย แก้ปวดท้องได้ดีกว่า ขณะที่ยาหอมอินทร-
จักรแก้คลื่นไส้ได้ดีกว่า
งานวิจัยนี้ยังได้ทดสอบความเป็นพิษของยาหอมทั้ง 3 ชนิดด้วยว่าเป็นอย่างไร ซึ่งผลที่ได้ไม่พบว่ามีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต ค่าเคมีของเลือด รวมทั้งการทำงานของระบบตับและไตของหนูที่ทำการทดลอง…ซึ่งนั่นหมายถึงความปลอดภัยในการใช้นั่นเอง
ข้อมูลโดย : รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ อาจารย์ประจำ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กิตติกรรมประกาศ:
-ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทจุฬาลงกรณ์วิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
-รศ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ อดีตอาจารย์ประจำ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
-รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ
-พลตรี นายแพทย์ สิรรุจน์ สกุลณะมรรคา ประสาทศัลยแพทย์ที่ปรึกษา รพ.พระมงกุฎเกล้า
-ผศ.นพ.พีระพงค์ กิติภาวงค์ เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมโรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
-นพ.ไกสร เจียมสวัสดิ์ ไกรสรคลินิกเวชกรรม (Kraisorn Medical clinic)
-นพ.สรรค์พงศ์ เจียมสวัสดิ์ จักษุแพทย์ ประจำรพ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส
-นพ.วิเชียร ฐิติโชติรัตนา ที่ช่วยดูเรื่องโดยรวมทั้งหมดและช่วยแก้ไขและตรวจทาน
-ภญ.ดร.นงลักษณ์ เรืองวิเศษ
-ภญ.ดร.อรวรรณ จิตรวาณิช
-ภก.พิชญะ นิ่มจินดา
-ภก.ประสิทธ์ กิจถาวรรัตน์
-พญ.เพ็ญศรี ธัญญะกิจไพศาล
-นพ.พนัส ธัญญะกิจไพศาล
-คุณเอื้อยจิตร บุนนาค
-นพ.นนทกร ฮันตระกูล
-คุณวินัย ฐิติโชติรัตนา
-ภญ.ลมัย กิตติสยาม
-พญ.สันสนีย์ หาญพินิจศักดิ์
-คุณปานทรัพย์ ยมนาค
-คุณ Jean Osborne
-ภญ.นันทวดี พิทยะพิบูลย์พงษ์
-ภก./นพ.พีระภัทร อินพาเพียร
-ภก.วัฒนินทร์ แก้วเกตุทอง
-ภก.ปฏิพัฒน์ ช้างพุ่ม
-ภญ.กรกนก สูงสถิตานนท์
-นพ.วริทธิ์ หวังซื่อกุล ร.พ.เชียงใหม่ราม
-ภญ.รุจิรา หวังซื่อกุล
-ภญ.ดร.อรวรรณ จิตรวาณิช
-ภก.ปาน ฮันตระกูล
-ภก.ปารุณ รุจนธำรง
-ภก.ศักดิ์ชัย เหล่าสกุล
-ภญ.อรุณณี เหล่าสกุล
-พญ.กุลวดี เหล่าสกุล
-ภญ.ศิริอร เหลืองหิรัญ
-ผศ.ทิพพดี อ่องแสงคุณ
-ทญ.พัชรี เตียวตระกูล
-ทญ.รพีพรรณ หิรัญวัฒน์ศิริ
-คุณพาสินี ถิระธรรม
-ภก.กฤดากร พงศ์ธนิศร
-ภญ.ชนิดา พงศ์ธนิศร
-นพ.อากฤษฏิ์ บุญสงวน
-นพ.สิทธิณพ ฐิติโชติรัตนา
-คุณจิรวัฒน์ วิวัฒน์พนชาติ
-นพ.แพทย์ฐิติวัฒน์ ฐิติโชติรัตนา
-ภญ.เนตรนภา เลิศมาลัยมาลย์
-ภญ.วรรณวดี ปุกหุต
-รศ.ดร.ภญ.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย